20 กลุ่มอาชีพร่วมใจ

ขับเคลื่อนประเทศไทยไปพร้อมกัน

ชวนเข้าใจกระบวนการสมัครและคัดเลือก สว.
ตัวแทนฐานเสียงที่หลากหลายในสภา จากภาคประชาชน

สมาชิกวุฒิสภา มีความสำคัญอย่างไร?

(ตามรัฐธรรมนูญ 2560)

สมาชิกวุฒิสภา คือตัวแทนของประชาชนที่มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ในวุฒิสภา โดยคัดเลือกจากผู้มีความเชี่ยวชาญประสบการณ์ตามกลุ่มอาชีพที่มีความหลากหลาย 20 กลุ่ม โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 200 คน

หน้าที่หลักของ สว.

  • พิจารณากลั่นกรอง กฎหมาย

  • ตั้งกระทู้ถาม
    เปิดอภิปรายทั่วไป

  • หน้าที่อื่น ๆ
    ตามรัฐธรรมนูญ

  • ให้ความเห็นชอบให้บุคคล ดำรงตำแหน่งในองค์กร ตามรัฐธรรมนูญ

ปฏิทินการคัดเลือก สว.

กระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

  • 11 พฤษภาคม 2567

    พระราชกฤษฏีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภามีผลใช้บังคับ

  • 13 พฤษภาคม 2567

    กกต. ประกาศกำหนดวันและเวลารับสมัคร และวันเลือกระดับอำเภอ จังหวัดและประเทศ (ภายใน 5 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ)

  • 14 พฤษภาคม 2567

    ผู้อำนวยการการเลือกระดับอำเภอประกาศกำหนดสถานที่รับสมัคร (วันถัดจากวันที่ กกต. ประกาศ)

  • 20 - 24 พฤษภาคม 2567

    เปิดสมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา โดยมีระยะเวลารับสมัคร 5 - 7 วัน (ไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ)

  • 29 พฤษภาคม 2567

    ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร (ภายใน 5 วัน นับแต่วันที่สิ้นสุดระยะเวลารับสมัคร)

  • 9 มิถุนายน 2567

    การเลือกสมาชิกวุฒิสภา ระดับอำเภอ (ภายใน 20 วัน นับแต่วันที่สิ้นสุดระยะเวลารับสมัคร)

  • 16 มิถุนายน 2567

    การเลือกสมาชิกวุฒิสภา ระดับจังหวัด (ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่เลือกระดับอำเภอ)

  • 26 มิถุนายน 2567

    การเลือกสมาชิกวุฒิสภา ระดับประเทศ (ภายใน 10 วัน นับแต่วันที่เลือกระดับจังหวัด)

  • กรกฎาคม 2567

    กกต. ประกาศผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

อยากสมัครเป็น สว. ลองดูคุณสมบัติได้เลย

คุณสมบัติและลักษณะของผู้สมัคร

มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด

อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี

มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทำงานในด้านที่สมัคร ไม่ต่ำกว่า 10 ปี*

และมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

เกิดในอำเภอที่สมัครรับเลือก

มีชื่อในทะเบียนบ้านในอำเภอที่สมัคร ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี

ทำงานอยู่ในอำเภอที่สมัครติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า 2 ปี

เคยทำงานหรือมีชื่อในทะเบียนบ้านในอำเภอที่สมัครติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า 2 ปี

เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอที่สมัครติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา

*ยกเว้นกลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มอัตลักษณ์อื่น
  • ติดยาเสพติด
    ให้โทษ

  • เป็นบุคคลล้มละลาย
    หรือเคยเป็นบุคคล
    ล้มละลายทุจริต

  • เจ้าของหรือมีหุ้น
    หนังสือพิมพ์
    หรือสื่อมวลชน

  • เป็นภิกษุ/สามเณร/
    นักพรต/นักบวช

  • อยู่ระหว่าง
    การเพิกถอน
    สิทธิเลือกตั้ง

  • วิกลจริต

  • ถูกระงับหรือ
    เพิกถอนการใช้สิทธิ
    สมัครรับเลือกตั้ง

  • ต้องคำพิพากษา
    ให้จำคุก

  • พ้นโทษจำคุก
    ไม่ถึง 10 ปี

  • เคยถูกสั่ง
    พ้นจากราชการ
    จากการทุจริตหรือ
    ประพฤติมิชอบ

  • เคยต้องคำพิพากษา
    เหตุร่ำรวยผิดปกติ

  • เคยต้องคำพิพากษา
    ผิดกฏหมายต่าง ๆ*

  • เคยต้องคำพิพากษา
    ทุจริตการเลือกตั้ง

  • อยู่ระหว่าง
    ห้ามดำรงตำแหน่ง
    ทางการเมือง

  • เป็นลูกจ้าง
    ในหน่วยงานรัฐ

  • เป็นตุลาการ
    ศาลรัฐธรรมนูญ*

  • เคยพ้นจากตำแหน่ง
    จากการแปรญัตติ
    เรื่องการใช้
    งบประมาณ*

  • เคยพ้นจากตำแหน่ง
    ฐานทุจริตหรือ
    คดีอาญาอื่นๆ*

  • เป็นข้าราชการ

  • เป็น สส.
    หรือพ้นตำแหน่ง
    ต่ำกว่า 5 ปี

  • เป็นสมาชิก
    พรรคการเมือง

  • ดำรงหรือ
    พ้นตำแหน่ง
    ในพรรคการเมือง
    ต่ำกว่า 5 ปี

  • เป็นรัฐมนตรี
    หรือพ้นตำแหน่ง
    ต่ำกว่า 5 ปี

  • เป็น สถ./ผถ.
    หรือพ้นตำแหน่ง
    ต่ำกว่า 5 ปี

  • เป็นบุพการี
    คู่สมรส หรือบุตร
    ของผู้ดำรงตำแหน่ง
    ทางการเมือง*

  • เคยเป็น สว.
    ตามรัฐธรรมนูญ

*ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง QR Code

20 กลุ่ม ผู้สมัครรับเลือกเป็น สว.

  • กลุ่มการบริหารราชการ
    แผ่นดินและความมั่นคง

  • กลุ่มกฎหมายและ
    กระบวนการยุติธรรม

  • กลุ่มการศึกษา

  • กลุ่มการสาธารณสุข

  • กลุ่มอาชีพทำนา
    ปลูกพืชล้มลุก

  • กลุ่มอาชีพทำสวน ป่าไม้

  • กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้าง
    ของบุคคลที่ไม่ใช่หน่วยงานรัฐ
    หรือผู้ใช้แรงงาน

  • กลุ่มผู้ประกอบอาชีพ
    ด้านสิ่งแวดล้อม

  • กลุ่มผู้ประกอบกิจการ
    ขนาดกลางและขนาดย่อม

  • กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่น
    นอกจากกลุ่มที่ 9

  • กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพ
    ด้านการท่องเที่ยว ผู้ประกอบกิจการ
    หรือพนักงานโรงแรม

  • กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม

  • กลุ่มผู้ประกอบอาชีพ
    ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
    การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม

  • กลุ่มสตรี

  • กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการ
    หรือทุพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์

  • กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี
    การแสดงและบันเทิง นักกีฬา

  • กลุ่มประชาสังคม กลุ่มองค์กร
    สาธารณประโยชน์

  • กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์
    วรรณกรรม

  • กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ
    ผู้ประกอบอาชีพอิสระ

  • กลุ่มอื่น ๆ

การสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา

ขอเชิญผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์จาก 20 กลุ่มอาชีพ สมัครรับเลือกเป็น สว. ณ สถานที่ที่ผู้อำนวยการการเลือกระดับอำเภอกำหนด ตั้งแต่วันที่ 20 - 24 พฤษภาคม 2567 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
หรือ สายด่วน 1444
หรือ LINE ID : @ect.thailand
สามารถสมัครได้เพียงกลุ่มเดียวและอำเภอเดียวเท่านั้น

วิธีการสมัครและเอกสารประกอบการสมัคร

ขอรับเอกสารการสมัครได้ด้วยตนเองที่สำนักทะเบียนอำเภอทุกแห่งหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 และยื่นใบสมัครตามวันและเวลาที่ กกต. กำหนด โดยเตรียมเอกสารหลักฐาน ดังนี้

1

แบบใบสมัคร (สว.2)

2

แบบข้อมูลแนะนำตัวผู้สมัคร (สว.3)

3

แบบหนังสือรับรองความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์หรือทำงานในกลุ่มที่สมัคร (ต้องมีพยานรับรอง) (สว.4)

ติดต่อขอเอกสารได้ที่นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น

4

สำเนา
บัตรประชาชน

5

สำเนา
ทะเบียนบ้าน

6

ใบรับรองแพทย์

7

รูปถ่ายหน้าตรง
8.5 ซม. x 13.5 ซม.

8

หลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ยืนยันว่ามีชื่อตามทะเบียนบ้าน หรือเคยศึกษา หรือเคยทำงานอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือก ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี

9

หลักฐานหรือสำเนาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชี้แจงคุณสมบัติ เช่น หลักฐานการขอลาออกจากข้าราชการ การเปลี่ยนชื่อ สำเนาแสดงตนว่าไม่มีลักษณะต้องห้าม เป็นต้น

10

ค่าธรรมเนียมการสมัคร 2,500 บาท
  • เงินสด
  • ตั๋วแลกเงิน
  • แคชเชียร์เช็ค

ผู้ประสงค์จะสมัครในเขตอำเภอยื่นเอกสารหลักฐานการสมัครด้วยตนเองต่อผู้อำนวยการการเลือกระดับอำเภอโดยมีสิทธิสมัครได้เพียงกลุ่มเดียวและอำเภอเดียว

กระบวนการเลือก สว.

ผู้สมัครรับเลือกเป็น สว. จะต้องผ่านกระบวนการคัดเลือก 3 ระดับ คือระดำอำเภอ ระดับจังหวัดและระดับประเทศ โดยผู้สมัครจะเป็นผู้เลือกกันเอง ภายในกลุ่มและสายเดียวกัน

การเลือกระดับอำเภอ

  • เลือกกันเองในกลุ่ม
    ไม่เกิน 2 คน

    (เลือกตัวเองได้
    แต่ให้คะแนนผู้สมัครได้ไม่เกิน
    คนละ 1 คะแนน)

  • ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด
    5 อันดับแรกในแต่ละกลุ่ม
    เป็นผู้ได้รับเลือกขั้นต้น

  • แบ่งออกเป็น 4 สาย
    (สายละ 3-5 กลุ่ม)

  • เลือกผู้สมัครกลุ่มอื่น
    ในสายกลุ่มละ 1 คน

ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก เป็นผู้ได้รับเลือกระดับอำเภอของแต่ละกลุ่ม

การเลือกระดับจังหวัด

  • เลือกกันเองในกลุ่ม
    ไม่เกิน 2 คน

    (เลือกตัวเองได้
    แต่ให้คะแนนผู้สมัครได้ไม่เกิน
    คนละ 1 คะแนน)

  • ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด
    5 อันดับแรกในแต่ละกลุ่ม
    เป็นผู้ได้รับเลือกขั้นต้น

  • แบ่งออกเป็น 4 สาย
    (สายละ 3-5 กลุ่ม)

  • เลือกผู้สมัครกลุ่มอื่น
    ในสายกลุ่มละ 1 คน

ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 2 อันดับแรก เป็นผู้ได้รับเลือกระดับอำเภอของแต่ละกลุ่ม

การเลือกระดับประเทศ

  • เลือกกันเองในกลุ่ม
    ไม่เกิน 10 คน

    (เลือกตัวเองได้
    แต่ให้คะแนนผู้สมัครได้ไม่เกิน
    คนละ 1 คะแนน)

  • ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด
    40 อันดับแรกในแต่ละกลุ่ม
    เป็นผู้ได้รับเลือกขั้นต้น

  • แบ่งออกเป็น 4 สาย
    (สายละ 3-5 กลุ่ม)

  • เลือกผู้สมัครกลุ่มอื่น
    ในสายกลุ่มละ 5 คน

ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 10 อันดับแรก ของแต่ละกลุ่ม ได้รับเลือกเป็น สว. และอันดับที่ 11 - 15
อยู่ในบัญชีสำรองของแต่ละกลุ่ม

ข้อควรระวัง
การกระทำผิดในการเลือก สว.

หากมีการกระทำผิดโดยการจูงใจให้ผู้อื่นสมัคร ถอนการสมัคร หรือทำให้ผู้นั้นหมดสิทธิที่จะเลือก
หรือรับเลือกด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ ต้องถูกระวางโทษตามกฏหมาย

  • เสนอ จัดทำทรัพย์สิน
    หรือผลประโยชน์
    ให้แก่อีกฝ่าย

  • แนะนำตัวผ่าน
    การจัดมหรสพ
    หรืองานรื่นเริง

  • เลี้ยงหรือรับ
    จะจัดเลี้ยงผู้ใด

  • หลอกลวง บังคับ
    ใช้อิทธิพลคุกคาม

การแนะนำตัว

ของผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา

ผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา

ต้องแนะนำตัวผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามที่ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 รวมถึงคำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขดำที่ 753/2567 หมายเลขแดงที่ 971/2567 และคำสั่งศาลปกครอง คดีหมายเลขดำที่ 771/2567 หมายเลขแดงที่ 972/2567 กำหนด

การแนะนําตัว หมายถึง การบอก ชี้แจง หรือแจกเอกสาร เพื่อให้ผู้สมัครอื่นรู้จัก
โดย "วิธีการแนะนำตัว" สามารถแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

  • การแจกเอกสารให้ผู้สมัครอื่น
  • การแนะนำตัวโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
โดยสามารถแนะนําตัวในระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ประชาชนเข้าถึงได้ และข้อความในการแนะนำตัวต้องเป็นไปตามระเบียบข้อ 7 ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 กำหนด

ผู้ช่วยเหลือผู้สมัคร

  • การแจ้งชื่อและเปลี่ยนแปลงชื่อ

    ต้องแจ้งชื่อต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนวันดำเนินการ ยกเว้น สามี ภรรยา และบุตร ไม่ต้องแจ้ง
  • หน้าที่ของผู้ช่วยเหลือผู้สมัคร

    แนะนำตัวด้วยการบอก ชี้แจง หรือแจกเอกสารให้ผู้สมัคร และแนะนำตัวโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยถือเป็นการแนะนำตัวของผู้สมัคร
  • กรณีไม่แจ้งชื่อหรือไม่แจ้งเปลี่ยนแปลงชื่อต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด

    เป็นลายลักษณ์อักษรก่อนวันดำเนินการ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอาจให้แก้ไขได้ภายในกำหนด หากไม่ดำเนินการอาจนำมาเป็นเหตุสืบสวนหรือไต่สวนได้

ข้อ "ห้าม"
ในการแนะนำตัว

  • ห้ามนำสถาบันกษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการแนะนำตัว
  • ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
  • ห้ามใช้ถ้อยคำรุนแรง/ปลุกระดม ก่อให้เกิดความไม่สงบในพื้นที่
  • ห้ามแนะนำตัวทางทีวี วิทยุ เคเบิลทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ รวมถึงให้การสัมภาษณ์สื่อมวลชน นักข่าว หรือสื่อโฆษณา ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล
  • จงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้

บทกำหนด

ผู้สมัครหรือผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวิธีการหรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการแนะนําตัว ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั่นมีกำหนด 5 ปี

สแกนที่นี่

เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ จากตามระเบียบ

คณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา
พ.ศ. 2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567

ต้องระวางโทษ

จำคุกตั้งแต่ 1 - 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 - 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 20 ปี

วิธีอ่าน

  • จำคุก หน่วย(ปี)

  • ค่าปรับ หน่วย(บาท)

  • ทั้งจำทั้งปรับ

  • เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหน่วย(ปี)

  • ผู้สมัครเข้ารับเลือกเป็น สว.
    มากกว่า 1 กลุ่ม หรือ 1 อำเภอ

  • ขาดคุณสมบัติหรือไม่มีสิทธิ
    แต่จงใจสมัคร

  • ผู้รับรองเอกสารหรือหลักฐาน
    ประกอบการสมัครอันเป็นเท็จ

  • ผู้เรียก/รับ
    ทรัพย์สิน/ผลประโยชน์

  • ผู้สมัครแนะนำตัวโดย
    ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข
    ที่ กกต. กำหนด

  • ผู้ที่ช่วยเหลือผู้สมัครในการ
    แนะนำตัวโดยไม่เป็นตาม
    เงื่อนไขที่ กกต. กำหนด

  • ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
    ที่มีส่วนในการให้ผู้สมัคร
    รับเลือกหรือไม่รับเลือก

  • ผู้สมัครที่ยินยอมให้ผู้ดำรง
    ตำแหน่งทางการเมืองมีส่วน
    ในการช่วยเหลือ

การประกาศผลการเลือก สว.

  • 1
    ทาง กกต. ได้รับ
    รายงานผลการนับคะแนน
    การเลือกระดับประเทศ
    รอไว้ไม่น้อยกว่า 5 วัน
  • 2
    ประกาศผลใน
    ราชกิจจานุเบกษา
  • 3
    ผู้ที่มีคะแนนในลำดับ
    ที่ 11-15 ของแต่ละกลุ่ม
    อยู่ในบัญชีสำรอง
  • 4
    แจ้งผลแก่สำนักงาน
    เลขาธิการวุฒิสภา
ร่วมตระหนักรู้และเข้าใจ เพื่อให้ได้มาซึ่ง สว. คุณภาพ
ที่ตอบโจทย์ความหลากหลายของประชาชน

ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการเลือกวุฒิสภา ด้วยการตรวจสอบประวัติ พฤติการณ์ ความเป็นกลางทางการเมืองของผู้สมัคร และแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ได้ที่ผู้อำนวยการการเลือก สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือทางแอปพลิเคชัน ตาสับปะรด

หากเบาะแสที่เป็นประโยชน์ต่อการสืบสวนจะได้รับเงินรางวัลสนับสนุนตั้งแต่ 100,000 - 1,000,000 บาท ขึ้นอยู่กับความสำคัญของข้อมูล ทั้งนี้ การแจ้งเบาะแสต้องไม่มีเจตนาหรือจงใจกลั่นแกล้ง เพื่อทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสื่อมเสีย หรือ เสียหาย รวมทั้งต้องไม่แจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จ