มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
ชวนเข้าใจกระบวนการสมัครและคัดเลือก สว.
ตัวแทนฐานเสียงที่หลากหลายในสภา จากภาคประชาชน
(ตามรัฐธรรมนูญ 2560)
สมาชิกวุฒิสภา คือตัวแทนของประชาชนที่มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ในวุฒิสภา โดยคัดเลือกจากผู้มีความเชี่ยวชาญประสบการณ์ตามกลุ่มอาชีพที่มีความหลากหลาย 20 กลุ่ม โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 200 คน
พิจารณากลั่นกรอง กฎหมาย
ตั้งกระทู้ถาม
เปิดอภิปรายทั่วไป
หน้าที่อื่น ๆ
ตามรัฐธรรมนูญ
ให้ความเห็นชอบให้บุคคล ดำรงตำแหน่งในองค์กร ตามรัฐธรรมนูญ
11 พฤษภาคม 2567
พระราชกฤษฏีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภามีผลใช้บังคับ
13 พฤษภาคม 2567
กกต. ประกาศกำหนดวันและเวลารับสมัคร และวันเลือกระดับอำเภอ จังหวัดและประเทศ (ภายใน 5 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ)
14 พฤษภาคม 2567
ผู้อำนวยการการเลือกระดับอำเภอประกาศกำหนดสถานที่รับสมัคร (วันถัดจากวันที่ กกต. ประกาศ)
20 - 24 พฤษภาคม 2567
เปิดสมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา โดยมีระยะเวลารับสมัคร 5 - 7 วัน (ไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ)
29 พฤษภาคม 2567
ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร (ภายใน 5 วัน นับแต่วันที่สิ้นสุดระยะเวลารับสมัคร)
9 มิถุนายน 2567
การเลือกสมาชิกวุฒิสภา ระดับอำเภอ (ภายใน 20 วัน นับแต่วันที่สิ้นสุดระยะเวลารับสมัคร)
16 มิถุนายน 2567
การเลือกสมาชิกวุฒิสภา ระดับจังหวัด (ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่เลือกระดับอำเภอ)
26 มิถุนายน 2567
การเลือกสมาชิกวุฒิสภา ระดับประเทศ (ภายใน 10 วัน นับแต่วันที่เลือกระดับจังหวัด)
กรกฎาคม 2567
กกต. ประกาศผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา
มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี
มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทำงานในด้านที่สมัคร ไม่ต่ำกว่า 10 ปี*
เกิดในอำเภอที่สมัครรับเลือก
มีชื่อในทะเบียนบ้านในอำเภอที่สมัคร ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี
ทำงานอยู่ในอำเภอที่สมัครติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า 2 ปี
เคยทำงานหรือมีชื่อในทะเบียนบ้านในอำเภอที่สมัครติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า 2 ปี
เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอที่สมัครติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา
*ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง QR Code
ขอรับเอกสารการสมัครได้ด้วยตนเองที่สำนักทะเบียนอำเภอทุกแห่งหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 และยื่นใบสมัครตามวันและเวลาที่ กกต. กำหนด โดยเตรียมเอกสารหลักฐาน ดังนี้
1
2
3
ติดต่อขอเอกสารได้ที่นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น
4
5
6
7
8
9
10
ผู้ประสงค์จะสมัครในเขตอำเภอยื่นเอกสารหลักฐานการสมัครด้วยตนเองต่อผู้อำนวยการการเลือกระดับอำเภอโดยมีสิทธิสมัครได้เพียงกลุ่มเดียวและอำเภอเดียว
(เลือกตัวเองได้
แต่ให้คะแนนผู้สมัครได้ไม่เกิน
คนละ 1 คะแนน)
ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก เป็นผู้ได้รับเลือกระดับอำเภอของแต่ละกลุ่ม
(เลือกตัวเองได้
แต่ให้คะแนนผู้สมัครได้ไม่เกิน
คนละ 1 คะแนน)
ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 2 อันดับแรก เป็นผู้ได้รับเลือกระดับอำเภอของแต่ละกลุ่ม
(เลือกตัวเองได้
แต่ให้คะแนนผู้สมัครได้ไม่เกิน
คนละ 1 คะแนน)
ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 10 อันดับแรก ของแต่ละกลุ่ม ได้รับเลือกเป็น สว. และอันดับที่ 11 - 15
อยู่ในบัญชีสำรองของแต่ละกลุ่ม
หากมีการกระทำผิดโดยการจูงใจให้ผู้อื่นสมัคร ถอนการสมัคร หรือทำให้ผู้นั้นหมดสิทธิที่จะเลือก
หรือรับเลือกด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ ต้องถูกระวางโทษตามกฏหมาย
ต้องแนะนำตัวผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามที่ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 รวมถึงคำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขดำที่ 753/2567 หมายเลขแดงที่ 971/2567 และคำสั่งศาลปกครอง คดีหมายเลขดำที่ 771/2567 หมายเลขแดงที่ 972/2567 กำหนด
ผู้สมัครหรือผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวิธีการหรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการแนะนําตัว ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั่นมีกำหนด 5 ปี
สแกนที่นี่
เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ จากตามระเบียบ
คณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา
พ.ศ. 2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567
จำคุกตั้งแต่ 1 - 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 - 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 20 ปี
วิธีอ่าน
ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการเลือกวุฒิสภา ด้วยการตรวจสอบประวัติ พฤติการณ์ ความเป็นกลางทางการเมืองของผู้สมัคร และแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ได้ที่ผู้อำนวยการการเลือก สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือทางแอปพลิเคชัน ตาสับปะรด
หากเบาะแสที่เป็นประโยชน์ต่อการสืบสวนจะได้รับเงินรางวัลสนับสนุนตั้งแต่ 100,000 - 1,000,000 บาท ขึ้นอยู่กับความสำคัญของข้อมูล ทั้งนี้ การแจ้งเบาะแสต้องไม่มีเจตนาหรือจงใจกลั่นแกล้ง เพื่อทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสื่อมเสีย หรือ เสียหาย รวมทั้งต้องไม่แจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จ